วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สารจากคุณพ่อเจ้าอาวาส


ในปีนี้เราเริ่มต้นเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าในปลายเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลาแห่งการรอคอยพระเยซูคริสตเจ้าที่จะเสด็จมาในโลก เราทุกคนถูกเรียกร้องให้เตรียมจิตใจพร้อมที่จะต้อนรับพระองค์เมื่อพระองค์จะเสด็จมา ปกติแล้ว เราคิดว่าเทศกาลเตรียมรับเสด็จเป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมพร้อม เพื่อนำไปสู่ความชื่นชมยินดีแห่งการสมโภชพระคริสตสมภพ เป็นการระลึกถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นเมื่อสองพันกว่าปีที่ผ่านมา แต่ช่วงเวลานี้ พระศาสนจักรปรารถนาให้เราได้เตรียมจิตใจพร้อม ในการต้อนรับพระเยซูคริสตเจ้า เมื่อพระองค์จะเสด็จมาในอนาคต การเสด็จมาในโลกนี้ จะเป็นสัญญาณแห่งการสิ้นสุดของโลกปัจจุบัน แต่เป็นการเริ่มต้นของโลกใหม่ นั่นคือ พระอาณาจักรของพระเจ้า ย่อมหมายถึง การเสด็จมาของพระองค์ยังเกิดขึ้นในชีวิตของเราแต่ละคนในวันที่เราสิ้นลมหายใจ และต้องผ่านการพิพากษา เฉพาะพระพักตร์พระเป็นเจ้า และจะต้องรายงานในทุกกิจการงานที่เราได้กระทำ
ในขณะเดียวกัน เรายังถูกเรียกร้องให้เตรียมพร้อมที่จะรอคอยการเสด็จมาของพระองค์ในทุกช่วงเวลาของชีวิต ถึงความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว เพื่อนและบุคคลแปลกหน้า พระองค์เสด็จมาหาเราในรูปแบบที่แตกต่างกัน
- พระองค์จะเสด็จมาหาเราเหมือนภรรยาที่รอคอยอ้อมกอดของสามีที่โอบกอดด้วยความรัก
- พระองค์จะเสด็จมาหาเราในรูปแบบของ หญิงที่ขายพวงมาลัยในสี่แยกไฟแดง
- พระองค์จะเสด็จมาหาเราในรูปแบบของ บุคคลที่เดือดร้อนต้องอพยพหนีน้ำยืนรอคอยด้วยความหวังอยู่บนหลังคาบ้านของเขา ในระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- พระองค์จะเสด็จมาในรูปแบบของ บุคคลที่ใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนนและในค่ายอพยพ เพราะบ้านของเขาได้ถูกทำลายเพราะภัยธรรมชาติ
- และพระองค์จะเสด็จมาหาเราในรูปแบบของ พี่น้องชาย - หญิง ที่ต้องทนทุกข์เพราะปัญหาด้านร่างกายและจิตใจ
ด้วยเหตุบังเอิญ ในช่วงเวลาแห่งการเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ก็ยังเป็นช่วงเวลาที่เราได้มีโอกาสระลึกถึงวันเอดส์โลกซึ่งตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ในชุมชนวัดของเรา มีคนจำนวนมากที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเชื้อเฮช ไอ วี พวกเขาไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับเรา แต่เขาเป็นลูกๆของเรา เป็นเพื่อน เป็นผู้ร่วมงานและเป็นพี่น้องชาย หญิง ที่อยู่ในองค์พระคริสตเจ้า
ผมรู้สึกขอบพระคุณพระเป็นอย่างยิ่ง ที่ในชุมชนของเรามีความรักและการยอมรับพี่น้องที่ติดเชื้อเฮช ไอ วี แท้จริงแล้ว ผมสามารถยืนหยัดได้ว่าเรื่องของเฮช ไอ วี ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่สำหรับเรา เพราะว่าเราใช้ชีวิตและทำงานด้วยกันฉันท์พี่น้องในพระคริสตเจ้าและไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลของการตรวจเลือด
แต่น่าเสียดาย ความรักและการยอมรับที่เห็นได้ในชุมชนวัดของเราไม่ได้เป็นที่มองเห็นในสังคม ในโลกเสมอไป มีผู้ติดเชื้อเฮช ไอ วี ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับการแบ่งแยกและเลือกปฎิบัติ องค์การสหประชาชาติ (UNAIDS ) ได้รายงานว่ากว่า 30 ปี หลังจากมีการระบาดของโรคเอดส์ ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อเฮช ไอ วี จำนวน 33.3 ล้านคน ในจำนวนนี้มี 2.5 ล้านคน ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และมีผู้ติดเชื้อ 10 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับการรับยาต้านไวรัสเฮช ไอ วี เพื่อที่จะรักษาร่างกายของตนเอง
ในช่วงเวลาที่เรากำลังเดินทางเข้าสู่เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าและฉลองการบังเกิดของพระกุมารเยซู อีกครั้งหนึ่ง ขอให้เราได้จดจำว่าพระคริสตเจ้าได้เสด็จมาแล้ว พระองค์จะเสด็จมาอีกครั้ง ในวันสุดท้ายและพระองค์กำลังเสด็จมาหาเราในทุกๆวัน ผ่านบรรดาพี่น้องชาย หญิง โดยเฉพาะกับบรรดาพี่น้องที่ต้องทนทุกข์ทั้งฝ่ายร่างกาย จิตใจ และถูกสังคมรังเกียจ
ขอให้เราทุกคนพร้อมที่จะต้อนรับพระองค์ในทุกช่วงเวลาของชีวิต

Letter from the pastor



Dear friends,
This year, Advent season, the season of waiting for the coming of our Lord Jesus Christ begins in late November. In this season, we are encouraged to prepare our heart and mind so that we will be ready when He comes. Of course, Advent is a time of preparation that leads us to the joy of the Christmas celebration, which commemorates the birth of Jesus Christ. However, the true spirit of Advent is not just about waiting for something that has already happened over 2,000 years ago. Rather, during this time, the Church encourages us to prepare ourselves for the coming of Jesus Christ that will take place in the future. That is the coming that signals the end of the present world and the beginning of the new world, the Kingdom of God. It is also the coming that signals the end of each of our life, calling us into judgment before the Lord about the actions that we have taken in our life.
We are also called to prepare ourselves to wait for the coming of the Lord into all the moments of our life, in our relationship with family, friends, neighbors and strangers. The Lord comes to us in the form of the wife who longs for a loving embrace from her husband. The Lord comes to us in the form of the woman who sells flower leis at the traffic intersection. The Lord comes to us in the form of people standing at the rooftops to escape the water rising in their homes. The Lord comes to us in the form of people living on the streets and in temporary shelters because their homes have been destroyed by storms and other natural disasters. And the Lord comes to us in the form of our brothers and sisters who are suffering from various emotional and physical health problems.
This year, World AIDS Day falls during our Advent season. In our Church community, people who are living with HIV/AIDS are no strangers to us. They are our children, our friends, our colleagues, and our brothers and sisters in Christ. I am so thankful to God that in our community, there is wonderful acceptance of our brothers and sisters who are living with the HIV virus. In fact, I can even say that HIV is not an issue for us because we live and work together as brothers and sisters in Christ, and not based on the status of blood tests.
Unfortunately, the love and accpetance in our community is not always visible in other parts of the society and the world, where people infected with HIV still suffer from tremendous discrimination and mistreatment. Thirty years into the pandemic, UNAIDS estimates that 33.3 million people globally are living with HIV. This number includes an estimated 2.5 million children under the age of 15 years. About 10 million people are not receiving the medication they need to sustain their health.
As we journey through the Advent Season and celebrate the birth of Jesus Christ, let us again remember that Christ has already come. He will come again on the last day. And He is coming to us everyday, in the faces of our brothers and sisters, especially those who are suffering and marginalized. Let us be ready to welcome Him.

ประมวลภาพกิจกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2011


ฉลองวัดเขตเมืองเลย
คุณพ่อเจ้าอาวาสและสัตบุรุษร่วมงานฉลองวัดพระคริสตเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ที่จังหวัดเลย ในวันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน ในการนี้ เยาวชนชาวเวียดนามซึ่งเป็นสัตบุรุษวัดหนองบัวลำภู ก็ได้ร่วมแสดงในโอกาสฉลองวัดครั้งนี้ การแสดงดังกล่าวได้ออกถึงวัฒนธรรมของชาวเวียดนามเกี่ยวกับการทำนาในภาคใต้ของประเทศเวียดนาม

มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์


เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมามูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ ได้จัดกิจกรรมเดินรณรงค์วันเอดส์โลก โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ “ จะไม่มีผู้ติดเชื้อเอฮ ไอ วี รายใหม่ จะไม่มีการตายเนื่องเอดส์ และจะไม่มีการตีตราหรือเลือกปฎิบัติ ” โดยมีบราเดอร์เดเมียน ลันเดอร์ส ผู้อำนวยการมูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ เป็นประธานในการเปิดงาน และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 300 คน
มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ มีหน้าที่ให้การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเฮช ไอ วี ได้เข้ามาพักฟื้นร่างกายและจิตใจ บ้านหลังนี้ ไม่ใช่ดูแลฝ่ายร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ ที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านจิตใจเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้มีกำลังใจในการที่จะต่อสู้กับโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะฉวยโอกาสเมื่อเวลาที่จิตใจอ่อนแอ ก็จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอด้วย มีบางครั้ง ที่ผู้ป่วยมารับการรักษาที่มูลนิธิฯ สภาพคงไม่ต่างจากร่างที่ไร้วิญญาณ แต่เมื่อเขาได้เข้ามาอยู่ที่แห่งนี้แล้ว ชีวิตใหม่ก็เกิดขึ้น กำลังใจถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ และขณะเดียวกันก็มีผู้ป่วยบางรายก็ได้จากโลกนี้ไปด้วยความสงบ เจ้าหน้าที่ทุกคน พยายามที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยเฮช ไอ วี ดุจญาติพี่น้อง ในขณะเดียวกัน เราทุกคนที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วย ก็พยายามที่จะผลักดันให้ผู้ติดเชื้อสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคม เมื่อร่างกายและจิตใจของเขาพร้อมที่จะเผชิญสู่สังคม ที่พวกเขาเคยใช้ชีวิตอยู่ สารวัดประจำเดือนธันวาคมฉบับนี้ ต้องการที่จะนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้เรื่องราวชีวิตของชายคนหนึ่ง ที่ต้องทนทุกข์กับเชื้อ เฮช ไอ วี เขาต้องอยู่กับเชื้อนี้อย่างไร แล้วทำไม เขาจึงได้มาอยู่ที่มูลนิธิบ้านนิจจาฯ เขารู้ได้อย่างไรว่า สถานที่แห่งนี้ คือ บ้านหลังที่ สองของเขา ....
ขอให้คุณได้แนะนำตนเอง โดยใช้นามสมมุติ
* ผมชื่อ น้อย ครับเป็นคนจังหวัดกาฬสินธุ์ อายุ 56 ปี 11 เดือน
รู้ตัวว่าติดเชื้อเฮช ไอ วี เมื่อไหร่ แล้วในขณะนั้นรู้สึกอย่างไร
* เมื่อประมาณปลายปี 2537 ได้เข้าโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดไส้ติ่ง ที่จังหวัดสตูล จึงได้ทราบว่ามีเชื้อเอช ไอ วีอยู่ในตัวผม ในขณะนั้นไม่เกิดความรู้สึกใดๆ หรือหมดกำลังใจ เพราะผมยังสามารถทำงานเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้เพราะร่างกายยังแข็งแรงปกติดี เป็นเพียงผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วีเท่านั้น
คุณเคยรู้จัก มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ก่อนใหม
* ไม่เคยทราบมาก่อนครับ
ใครเป็นคนแนะนำคุณ ให้เข้ามารักษาตัวเองที่มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์
* เจ้าหน้าที่ บ้านคุ้มครองเด็กและสตรีจังหวัดกาฬสินธุ์ นำมาส่งที่มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ ถึงได้ทราบว่ามีสถานที่รักษาผู้ติดเชื้อ คือ บ้านนิจจานุเคราะห์
คุณคิดว่า มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ได้ให้อะไรสำหรับคุณบ้าง
* ให้โอกาสฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจ การประชุมทุกวันพุธ โดยคุณพ่อแอนโทนี่และเจ้าหน้าที่อาสา ได้อบรมส่งเสริมกำลังใจ พูดคุยกันเพื่อผ่อนคลายความทุกข์ใจ แสดงความเห็นใจซึ่งกันในกลุ่ม
ผู้ฟื้นฟูและให้ทานยาตรงเวลา
สุดท้ายนี้ คุณมีอะไรจะฝากสำหรับผู้ที่กำลังอ่าน บทความของคุณในขณะนี้ใหม
มีครับ บ้านนิจจานุเคราะห์ของเรายังขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆครับ ดังนั้น ผมจึงขอเป็นกระบอกเสียงที่จะขอความเมตตากรุณาผู้มีน้ำใจดีทุกท่าน โปรดบริจาคอาหารเสริมสำหรับพวกผมด้วยครับ เช่น โอวัลดิน ไมโล นมข้นหวาน จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ พร้อมกันนี้ ผมขอตอบแทนพระคุณมูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ด้วยกำลังของผม เช่น ทำความสะอาดบ้านพักและห้องทำงาน ขับรถบริการเจ้าหน้าที่ และอื่นๆ และต้องการที่จะให้บ้านนิจจาฯ ช่วยจัดหางานให้ผมทำตามความสามารถของผมเพื่อที่จะมีรายได้และดำเนินชีวิตต่อไป โดยไม่เป็นภาระแก่มูลนิธิฯและสังคม สุดท้ายนี้ ผมขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ทุกท่าน โดยเฉพาะบราเดอร์เดเมียน ที่ได้ก่อตั้งมูลนิธิฯนี้ขึ้นมา และขอบคุณคุณพ่อที่ช่วยทำให้พวกผมมีกำลังใจ ในการดำเนินชีวิตต่อไป
ก่อนจากกันในวันนี้ ก็ต้องขอบคุณ หนึ่งชีวิตที่ได้ให้การแบ่งปันเรื่องราวชีวิตที่แสนจะเจ็บปวด ที่เขาคนนี้ก็สามารถอยู่กับมันได้ และก็ขอฝากให้ผู้อ่านทุกท่าน ได้ให้โอกาสสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ เฮช ไอ วี ไม่ใช่เขาเท่านั้นที่รอโอกาส แต่เราทุกคน ก็ต้องการ โอกาสเช่นเดียวกับเขา ขอให้คุณเป็นคนแรกเถอะค่ะ ที่จะเปิดโอกาสและนำชีวิตของเขาสู่อ้อมกอดที่อบอุ่นและเข้าใจในความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง

บ้านแม่มารีย์


บ้านแม่มารีย์ เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ บ้านแม่มารีย์เป็นบ้านสำหรับเยาวชน ที่ติดเชื้อเฮช ไอ วี มีภาวะยากลำบาก เนื่องจากขาดการดูแลหรือพ่อแม่เสียชีวิต ต้องอาศัยอยู่กับญาติหรือผู้อุปการะที่มีฐานะยากจน บ้านแม่มารีย์ รับเยาวชนชาย—หญิง ที่มีอายุระหว่าง 15 ปี - 25 ปี ไม่มีคู่สมรส ไม่มีผู้ดูแลหรือผู้อุปการะ บ้านแม่มารีย์จะให้การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต ส่งเสริมฝึกทักษะอาชีพและสนับสนุนช่วยเหลือเยาวชนในการดำรงชีวิตในอนาคตต่อไป ปัจจุบันบ้านแม่มารีย์มีเยาวชนชาย 1 คน เยาวชนหญิง 3 คน พวกเขามีหน้าที่ ที่จะต้องดูแลรับผิดชอบ ตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองในแต่ละวัน วันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นวันเอดส์โลก วัดอัครเทวดามีคาแอล ขอเป็นส่วนหนึ่งได้เล่าบทความของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ได้เล่าประวัติของตนเอง เพื่อที่จะแบ่งปันให้พี่น้องได้รับฟัง ในเรื่องราวชีวิตของเธอ เธอติดเชื้อเฮช ไอ วี ได้อย่างไร และชีวิตของเธอก็ไม่เคยที่จะยอมแพ้และไม่เคยกล่าวโทษ บิดา มารดา ของตนเอง กับเพิ่มความรักและเพิ่มแรงบันดาลใจให้กับเธอ ที่จะสู้ สู้ เพื่อวันข้างหน้า ยืนหยัดที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างปกติเหมือนคนธรรดา คนหนึ่ง
หนูชื่อ น้องกอหญ้า ( นามสมมุติค่ะ) หนูเป็นเด็กคนหนึ่งที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่โดยมูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ หนูเกิดที่จังหวัดขอนแก่น อาศัยอยู่กับพ่อ แม่เลี้ยง และน้องชาย ฐานะทางครอบครัวยากจน ชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้น รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เมื่อครั้งที่หนูเป็นเด็กเล็กๆหนูไม่สบายบ่อยร่างกายอ่อนแอ เข้า- ออก โรงพยาบาลบ่อยๆ จนกระทั่งหนูอายุ 7 ขวบแม่บอกกับหนูว่าหนูติดเชื้อเอดส์ ซึ่งหนูไม่เข้าใจหรอกว่าเอดส์ คืออะไร แต่สิ่งที่หนูรับรู้และสัมผัสได้และทรมานมากกับการที่หนูต้องกินยาทุกๆวันวันละ 2 ครั้ง หนูไม่อยากกินเพราะยามีรสขม และเม็ดใหญ่ ต้องกินครั้งละหลายๆเม็ด หนูถูกบังคับให้กินยาเป็นเวลา 3 ปี หนูเบื่อและไม่รู้ว่าทำไมต้องกินยาทุกวัน และกินทำไม หนูแอบเอายาทิ้งประจำ และในที่สุดหนูก็ถูกคุณหมอดุเป็นประจำ คุณหมอเปลี่ยนยาให้หนูบ่อยๆทุกครั้งที่เปลี่ยนยา การกินยาก็ยากขึ้นจนกระทั่งหนูอายุ 10 ขวบ แม่ก็ป่วยหนักเข้า- ออกโรงพยาบาลอยู่หลายครั้งและแม่ก็จากหนูไป งานศพของแม่ถูกจัดขึ้นอย่างเรียบง่าย หลังจากงานศพของแม่ผ่านไปได้ไม่นาน หนูมีความรู้สึกว่าผู้คนในหมู่บ้าน ครู เพื่อน ไม่ค่อยมีใครอยากพูดคุยกับหนู ทุกคนมองหนูเหมือนเป็นตัวเชื้อโรค หนูได้ยิน
คำพูดที่ทิ่มแทงเสียดสีจากคนในหมู่บ้านของหนูทุกวันว่า “ แม่มันเป็นเอดส์ตาย ”หนูถูกรังเกียจ หนูรู้สึกอับอายหนูมีชีวิตอยู่อย่างซังกะตายไปวันๆ ชีวิตทุกๆวันที่— ขอนแก่น หนูมืดมนหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างหนูมีชีวิตอยู่เพื่อรอวันตายอย่างที่คนเขาพูดกัน สุขภาพของหนูก็แย่ลงเรื่อยๆ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯไม่ได้ผล หนูดื้อต่อยาหลายๆชนิด เชื้อไวรัสในกระแสเลือดก็เพิ่มขึ้น จนคุณหมอต้องหยุดยาต้านไวรัสฯไว้ก่อน คุณหมอบอกว่ารอให้คุณหมอหาที่อยู่ใหม่ๆที่ดีๆให้หนูก่อนค่อยเริ่มยาใหม่ จนกระทั่งคุณหมอท่านส่งหนูมาอยู่ที่หนองบัวลำภู หนูอยู่ในความดูแลของมูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ หนูพักอยู่บ้านพักเยาวชน คือ บ้านแม่มารีย์ ช่วงที่หนูมาอยู่ใหม่ๆ หนูยอมรับว่าหนูสับสน หนูกลัว กลัวในสิ่งที่หนูยังมองไม่เห็น 1 เดือนผ่านไปหนูเริ่มได้รับการเรียนรู้หลายๆอย่าง หนูได้รับโอกาสทางสังคม หนูได้รับการดูแลเอาใจใส่ หนูได้เรียนหนังสือ และหนูได้เริ่มรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสใหม่อีกครั้งที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ยาที่หนูได้รับ การกินยายากกว่าเดิม เพราะหนูกลืนยาลงคอหนูก็อาเจียนทุกครั้ง กินอาหารก็ไม่ได้ คลื่นไส้อาเจียนตลอดทั้งวัน หนูรู้สึกท้อมากกับการกินยา แต่แล้วหนูก็ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลหนู หนูได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ก่อนถึงเวลากินยา เจ้าหน้าที่ก็จัดเตรียมผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว และพูดคุยกับหนูบางทีก็เล่าเรื่องตลกๆ ให้หนูฟัง จนหนูลืมอาการข้างเคียงที่มีผลจากยาต้านไวรัสฯ จนหนูสามารถดูแลตัวเองได้และกินยาได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาผลไม้หรือสิ่งอื่นๆ ช่วย ชีวิตของหนูได้รับการเปลี่ยนแปลง เห็นได้ชัดเจนจากหลายๆเรื่อง เช่น ในอดีตหนูไม่ได้เรียนหนังสือ มีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นทุกข์ยาก อดมื้อ อิ่มมื้อ ถูกรังเกียจจนไม่กล้าแม้แต่จะเงยหน้าขึ้นมองผู้คน ไม่กล้ายิ้ม ไม่กล้าแม้แต่จะมีลมหายใจ อดีตที่ผ่านมาหนูตายทั้งเป็น ปัจจุบัน หนูมีชีวิตใหม่ที่สดใสสวยงาม หนูได้รับโอกาสมากมายจากบ้านแม่มารีย์ หนูได้เรียนหนังสือ หนูมีเพื่อน หนูมีสังคม หนูมีพ่อ มีแม่ที่คอยอบรมสั่งสอน ทำให้หนูมีโอกาสได้เรียนรู้ชีวิตหลายๆอย่าง ทำให้ได้เข้าใจระหว่าง คำว่า “ เอดส์ ” กับ “ เชื้อเอช ไอ วี ” และเข้าใจคำว่า” คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ” ความเท่าเทียบกันในสังคม
ณ วันนี้ หนูยิ้มได้เต็มหน้าและกล้าที่จะเงยหน้าขึ้นสบตาผู้คนในสังคมได้อย่างภาคภูมิใจ มูลนิธิบ้านนิจจาฯได้เติมเต็มให้กับชีวิตที่ขาดวิ่นของหนู ขอบคุณอย่างสุดซึ้งสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่มอบเป็นของขวัญที่ลำค่าสำหรับชีวิตของเด็กติดเชื้อ เอช ไอ วี คนหนึ่ง
หนูขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่ได้ช่วยเหลือหนูและช่วยกันคืนชีวิตใหม่ที่สดใสให้หนูจนหนูสามารถตอบโจทย์ของสังคมได้ ขอบคุณค่ะ
ด้วยรักและขอบคุณ
จาก .. เด็กหญิงกอหญ้า..

พิธีกรรม


ในช่วงเวลาแห่งการเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ถ้าหากเรามีโอกาสได้ไปตามวัดต่างๆ เราอาจจะพบว่าที่หน้าพระแท่น จะมีพวงหรีดประดับประดาด้วยใบไม้สีเขียวและเทียน 4 เล่ม จะมองเห็นเทียนที่มีสีม่วงและสีชมพู อาจจะมีข้อสงสัยว่า พวงหรีดที่เห็นอยู่นี้ มันมีความหมายว่าอย่างไร ในขณะที่คาทอลิกบางคนอาจจะไม่เข้าใจเช่นเดียวกับพุทธศาสนิกชน แต่สารวัดของเราฉบับนี้ จะมาตอบคำถามเกี่ยวกับประเพณีการทำพวงหรีด ก่อนถึงวันฉลองการบังเกิดของพระกุมาร

บทความ โดยคุณพ่อ ฟรังซิส ไวย์เซอร์ SJ ., The Liturgical Press, Minnesota, 1964, หน้า 58-60

เมื่อเข้าสู่เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า หรือช่วง 4 สัปดาห์ก่อนฉลองพระคริสต์สมภพ มีหลายวัดที่นิยมหาพวงหรีด สีเขียว พร้อมเทียน 4 ต้น มาประดับในบ้าน ในโรงเรียน หรือในวัด  
สมัยก่อนเราไม่มีธรรมเนียมเช่นนี้ หรีดเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าได้กำเนิดไม่กี่ร้อยปีนี่เอง ในประเทศเยอรมันภาคตะวัน ออก โดยธรรมเนียมชาวบ้าน ตอนปลายพฤศจิกายน และต้นธันวาคม มีการเผาไฟ ชาวคริสต์ในสมัยกลางคงรักษาสัญลักษณ์สืบทอดกันมาเป็นประเพณี
คนสมัยศตวรรษที่ 16 มีคนเกิดความคิดว่าเอาไฟมาใช้เป็นสัญลักษณ์ ในศาสนาถึงการเตรียมฉลองพระคริสต์สมภพ (คริสต์ มาส) ในบ้านของชาวคริสต์ คนทั่วไปก็ชอบความคิดนี้ คือ พี่น้องคริสเตียน และคาทอลิก ในส่วนต่างๆของประเทศเยอรมัน ประดับไฟ หรีดเตรียมฉลองพระคริสตสมภพ มาจาก หรีดของต้นสน (Fir laurel)ไม้ที่เขียวตลอดปี ทำเป็นขนาดต่างๆ โดยเอามาใช้แขวนเพดาน ตามเสา ตามหน้าต่าง หรือวางโต๊ะ หรือแท่นพระที่สมาชิกในครอบครัวใช้ภาวนาด้วยกัน (ธรรมเนียมชาวยุโรป จะภาวนาด้ วยกัน เช่นก่อนทานอาหาร ก่อนนอน) นอกจากหรีดของต้นสนแล้ว ยังมีเทียน 4 ต้น ตั้งตรง ห่างเท่าๆกัน เทียนทั้ง 4 เป็นสัญลักษณ์หมายถึง 4 สัปดาห์ก่อนฉลองคริสต์มาส แต่ละวันตอนเย็น ครอบครัวจะอธิษฐานพร้อมกันสั้นๆ ในวันอาทิตย์ จะจุดเทียนเพิ่มขึ้นที่ละต้น จนครบ 4 ต้น ในสัปดาห์ที่ 4 แสงเทียนจะส่องสว่างไสว หมายถึงเรายินดีฉลองวันสมภพของพระเยซูเจ้า ก่อนภาวนาเขาจะดับไฟในห้องนั้น แล้วจุดเทียนให้ส่องสว่ างขับไล่ความมืดออกไป ปรกติเราใช้เทียนสีม่วง ยกเว้นต้นที่ สาม ใช้สีกุหลาบ หรือ สีม่วง ก็ได้ ตามอาภรณ์ของพระสงฆ์ในพิธีกรรมที่วัด ที่ใช้สีกุหลาบเพราะแสดงว่าใกล้คริสต์มาสแล้ว
หรีดเตรียมฉลองปีคริสตสมภพไม่มีความสัมพันธ์ใดกับพิธีกรรมในพระศาสนจักร ไม่ใช่สิ่งคล้ายศีล (Sacramental) ไม่เคยมีการประกาศเป็นทางการในเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี การภาวนาที่เหมาะสมกับโอกาสย่อมช่วยเราให้ได้รับพระพร
สัญลักษณ์การใช้หรีดเตรียมฉลองคริสต์มาสนี้ เตือนใจเราให้คิดถึงผู้ซื่อสัตย์ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม “เพื่อส่องสว่างแก่ ทุกคนที่อยู่ในความมืด และในเงามืดแห่งความตาย” (อสย.9:1,42:7 ลก.1:79) ประกาศกประกาศถึงพระผู้ไถ่ เมื่อใจของคนศรัทธาจะลุ กร้อนดุจเปลวไฟปรารถนาพระผู้ไถ่ (พระเมสสิยาห์) หรีดนี้จึงเป็นเครื่องหมายถึงเวลาที่พระคริสตเจ้าเสด็จมาบังเกิด (หรีดเน้นสัญลักษณ์ในสมัยโบราณ หมายถึงชัยชนะ และเกียรติยศ)
หลังจากกภาวนาขอพระพรเพื่อเตรียมฉลองพระคริสต์สมภพสมาชิกในบ้านจะร้องเพลงเตรียมรับพระคริสตเจ้า หรือเพลงเทิดเกียรติพระนางมารีย์ บางแห่งในยุโรปเป็นธรรมเนียมให้คนที่ชื่อ ยอห์น (ผู้ชาย) หรือโจแอน (ผู้หญิง) เป็นผู้จุดเทียน  เพราะยอห์น เป็ นผู้เขียนพระวรสารที่บอกว่า พระคริสตเจ้าทรงเป็นแสงสว่างส่องในความมืด (บทที่ 1:5) และยอห์น บัปติสต์ เป็นคนแรกที่เห็นแสงสว่างนั้น เวลาประกอบพิธีล้างที่แม่น้ำจอร์แดน
เด็กๆมักจดจำประสบการณ์ วันฉลองในวัยของเขาเสมอ เป็นต้นในช่วงคริสต์มาส นอกจากนั้น การภาวนาพร้อมกันในครอบ ครัวก็เป็นการปฏิบัติตามที่พระเยซูเจ้ากล่าวว่า “ที่ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั้นท่ามกลางพวกเขา” (มธ.18:20)
คุณมีพระคริสตเจ้าในบ้าน เมื่อคุณเป็นเด็ก  นี่เป็นความจริงที่น่าสนใจ หากลองตามประเพณีเรียบๆนี้ให้มีความหมาย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความที่เรานับมาฝากให้ทุกท่านได้อ่านในเรื่องของพิธีกรรม คงจะเพิ่มพูนความรู้ที่มีอยู่แล้ว ให้แน่นเอียดไปด้วย ความหมายที่แท้จริงของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้านะค่ะ