วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สารจากคุณพ่อเจ้าอาวาส


         พี่น้องที่รัก เทศกาลมหาพรตเป็นช่วงเวลาที่เราจะต้องมองดูชีวิตฝ่ายจิต เป็นเวลาแห่งการพิจารณาประเมินชีวิตเพื่อที่จะมองเห็นบาปในตัวเราเป็นกระบวนการแห่งการกลับใจและฟื้นฟูจิตใจ โดยปกติเราถูกเรียกร้องให้ถือศีลอดอาหารสำหรับบางวันในช่วงเทศกาลมหาพรต บางคนอาจจะทำมากกว่านี้ ด้วยการละเว้นการกระทำบางอย่างซึ่งเป็นสิ่งที่เขากระทำทุกวัน อาทิ ทานไอศกรีม ไปเที่ยวผลับหรือสถานเริงรมย์ต่างๆ บางคนอาจจะละเว้นความประพฤติที่ไม่ดี เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าหรือนินทาคนอื่น
       อย่างไรก็ตาม การงดหรือละเว้นการกระทำบางอย่างก็ไม่เพียงพอกับเทศกาลมหาพรต จิตตารมณ์มหาพรตไม่ใช่แค่การละเว้นเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสให้เราทำอะไรสักอย่างเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น บางคนเลือกที่จะเข้าวัดบ่อยขึ้น ช่วยเหลือคนยากจนเพิ่มขึ้นหรือจะใช้เวลาสำหรับการสวดภาวนาและรำพึงมากขึ้น
      ขณะที่เราเดินทางในเทศกาลมหาพรต  มีบางสิ่งที่เราสามารถกระทำได้ และจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทศกาลนี้ นอกจากนั้นยังช่วยให้เราได้รับการฟื้นฟูจิตใจเมื่อเทศกาลจบลง ดังนั้น เราจึงต้อง..
       1.จงอยู่กับปัจจุบัน ย่อมหมายถึง เรามีความตระหนักรู้ถึงชีวิตและทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ใช้เวลาซาบซึ้งในธรรมชาติ ฟังเสียงนกบนต้นไม้ มองเข้าไปในนัยน์ตาของบุคคลที่เราพบเห็น ให้เราดำเนินชีวิตในปัจจุบันและมีความสุขในทุกขณะที่พระเจ้าประทานให้กับเรา
      2.เรียนรู้ที่จะปล่อยวาง สร้างชีวิตที่เรียบง่ายโดยการปล่อยวางทรัพย์สิน ความคิด ความปรารถนาและความคาดหวังต่างๆที่ไม่จำเป็น การทำตัวให้ว่างเปล่า จะช่วยให้เราสามารถยอมรับสิ่งต่างๆที่พระเจ้าปรารถนามอบให้แก่เรา
     3.สร้างความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้า ในแต่ละวันควรหาเวลาสำหรับการสวดภาวนา ในขณะที่ขับรถไปทำงาน  เข้าแถวที่ธนาคารเพื่อทำทธุรกรรมทางการเงิน หรือเวลาพักผ่อนหลังรับประทานอาหารเที่ยง จงตระหนักถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าตลอดวันและเห็นว่าพระเจ้าทรงเดินเคียงข้างเราเสมอและพร้อมที่สร้างความสนิทสัมพันธ์กับเราทุกเวลา
       เทศกาลมหาพรต มิใช่เป็นเวลาที่เราจะดำเนินชีวิตในความรู้สึกบาปและละอายใจ เมื่อคิดถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ผิดพลาดที่เราเคยกระทำ แต่มหาพรตยังเป็นโอกาสที่จะช่วยให้เราพัฒนาชีวิตของตนเองให้ดีขึ้นปล่อยวางสิ่งต่างๆที่เป็นภาระ และช่วยให้เราสามารถเติบโตมีความสนิทสัมพันธ์กับพระมากยิ่งขึ้น           ขอพระเป็นเจ้าประทานพระพรพระหรรษทานให้เรามีกำลังใจที่จะกระทำสิ่งที่ช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดในชีวิตฝ่ายจิต  ตามที่พระศาสนจักรได้จัดสรรให้กับเรา

Letter from the pastor


Dear friends,


The Lenten season which we are in is a time for looking inward, a time for self-evaluation and self-examination in order to recognize our sins and go through a process of repentance and renewal. We are asked to fast on certain days during Lent. Some people go a bit further by “giving up” something that they normally like to do, like eating ice cream, or going out to bars and restaurants. Some people give up bad habits such as smoking and drinking or gossipping.
However, giving up alone is not necessarily enough and tends to look at Lent in a negative light. Instead of giving up, some people have come to realize that it is also beneficial to “take on” something. Some will choose to go to church more often, or help the poor more regularly, or take more time for prayer and meditation.
As we go through Lent, there are some things that we can do in order to help us get the most out of this season so that we can come out of it renewed.
First, practice mindfulness. This means to be more aware of life, of the things around us. Take time to appreciate nature, listen to the sound of the birds, look into the eyes of the people we meet. Let us live in the present and enjoy every moment given to us by God.
Second, learn to let go. Make our lives simpler by giving up unnecessary possessions, thoughts, desires, and expectations. Making ourselves more empty will enable us to receive other things that God intends to grant to us.
Third, develop intimacy with God. Make time for prayer throughout the day, when we’re driving to work, when we’re in line at the bank, when we’re having a rest after lunch. Be aware of God’s presence in our life throughout the day, and see how God continually walks with us and is always ready to develop intimacy with us.
Lent doesn’t have to be just a time when we live in guilt and shame, thinking about all the wrong things that we have done. Instead, it can be a life-giving opportunity for us to let go of the things that weigh us down, allowing us to grow, to be more connected to God, and to be grateful for all that God has done for us.
May God grant us the grace to be willing to make the most out of this special season that the Church has set aside for us.

ก้าวเข้าสู่เทศกาลมหาพรต ก้าวเข้าสู่เทศกาลมหาพรต


          วันพุธรับเถ้า  วันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต เป็นวันหนึ่งที่พระศาสนจักรเรียกร้อง ให้ผู้ใหญ่ทุกคนจำศีลอดอาหาร นั่นคือ ให้อดมื้ออาหารที่สำคัญที่สุดของวัน ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะเสียสละและการรู้จักร่วมสุข ร่วมทุกข์กับคนอื่น เป็นต้นเพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้าในพระทรมานของพระองค์ ความพร้อมที่เริ่มต้นด้วยการรู้จักฟังเสียงของพระเจ้า  พร้อมที่จะรับรู้ค่านิยมแห่งพระวาจาของพระองค์  อันเป็นเครื่องหมายของการกลับใจ โดยนัยนี้การจำศีลอดอาหารของคริสตชนก็จะละม้ายคล้ายกับของพระอาจาร์ยเจ้า เวลาที่พระองค์ทรงเริ่มปฎิบัติพระภารกิจของพระองค์ ทรงภาวนาจำศีลอดอาหาร 40 วัน ในถิ่นทุรกันดาร
        ตัวเลข 40 แห่งเทศกาลมหาพรต มีความหมายต่อคริสตชนในหลายแง่มุม ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
       - การระลึกถึงการอดอาหาร 40 วัน ของพระเยซูเจ้าในถิ่นทุรกันดารก่อนที่จะปฎิบัติภารกิจของพระองค์
        - ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ชาวอิสราเอลต้องรอนแรมอยู่ในถิ่นทุรกันดารถึง 40 ปี ในสมัยโมเสส
        -  ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงกระทำให้มีฝนตกติดต่อกัน
40 วัน 40 คืน ในสมัยของโนอาห์
        -  ระลึกถึงเหตุการณ์ที่โมเสสได้ขึ้นไปอยู่บนภูเขาซีนายเป็นเวลา
40 วัน เพื่อรับพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า 
        -  และยังรวมถึง 40 วัน ที่ประกาศกโยนาห์ประกาศการกลับใจแก่ชาวเมืองนินะเวห์
       สำหรับคริสตชน 40 วัน แห่งเทศกาลมหาพรต จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการดำเนินชีวิตร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้าในพระทรมานบนเส้นทางแห่งไม้กางเขนของพระองค์ เพื่อจะได้กลับคืนชีพพร้อมกับพระองค์ เพราะฉะนั้น  เทศกาลมหาพรตจึงเป็นเทศกาลแห่งการสำนึกในความผิดบาปและการกลับใจเสียใหม่  เป็นเทศกาลแห่งการสำรวจตนเองว่า ได้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อพระเยซูเจ้าพระผู้ไถ่ของเราหรือไม่
                                                       ข้อมูลจาก www.bloggang.com

11 กุมภาพันธ์ วันผู้ป่วยสากล


วัดอัครเทวดามีคาแอล ได้จัดวจนพิธีกรรมสวดสายประคำแม่พระ ในโอกาสที่พระศาสนจักรให้ความสำคัญสำหรับผู้ป่วย และในวิถีชุมชนวัดของเรา ก็แวดล้อมไปด้วยผู้ป่วยที่ติดเชื้อเฮช ไอ วี จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราทุกคนจะต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือในทุกวิถีทางเท่าที่ทำได้ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ โดยอาศัยคำภาวนาและกำลังใจ ที่เราร่วมจิตร่วมใจกันแสดงออกเพื่อผู้ป่วยด้วยความรักและความจริงใจ 

ทัศนศึกษา


เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โรงเรียนอนุบาลภูบดินทร์  จังหวัดหนองบัวลำภู ได้จัดทัศนศึกษาสำหรับนักเรียนอนุบาล ห้อง3/1  จำนวน 32  คน ในการเรียนรู้เรื่องของศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิก เพื่อประกอบกับการเรียนรู้ในสถานที่จริง โดยมีคุณพ่อแอนโทนี่ เลดึ๊ก  เจ้าอาวาสวัด ให้การต้อนรับครูและนักเรียน  

มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์


      เมื่อวันที่ 21 –22  กุมภาพันธ์ 2012  มูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ จัดอบรมในโครงการ การดูแลสุขภาพกับยาต้านไวรัส HIV/ OIARV  เพื่อให้เจ้าหน้าที่และผู้ติดเชื้อได้มีความรู้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพของตนเอง การรับประทานยาให้ตรงเวลาและครบถ้วน นอกจากนั้น ยังได้รับความรู้ในเรื่องของโรคฉวยโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ในบรรยากาศที่สบายๆ โดยมีวิทยากร คุณสุมาลี จดจำ ให้การอบรม มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน ณ ห้องประชุมชั้น 2   ของมูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์  จ.หนองบัวลำภู  

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สารจากคุณพ่อเจ้าอาวาส

  เดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี จะมีหนึ่งวันที่มีความหมายลึกซึ้งสำหรับชุมชนวัด นั่นคือ วันผู้ป่วยสากล ซึ่งจะทำการระลึกถึงในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2012 และตรงกับวันฉลองแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูรด์ เป็นที่ทราบกันดีว่า การเจ็บป่วยเป็นความจริงของชีวิตที่ทุกคนจะต้องประสบ เราแต่ละคนมีปัญหาด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจหรือจิตวิญญาณ บางคนต้องเผชิญหน้ากับโรคความดันโลหิตหรือคอเลสเตอรอลสูง และบางคนต้องทรมานกับโรคเบาหวาน โรคไขข้อ หลายคนในชุมชนวัดต้องดำเนินชีวิตเคียงคู่กับเชื้อเฮชไอวี และต้องทรมานกับการรังเกียจของสังคมที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอเกี่ยวกับเชื้อเฮชไอวีนี้ ในขณะเดียวกันเราทุกคนมีความไม่สมดุลย์ในด้านจิตใจและจิตวิญญาณ เพราะความอ่อนแอในตนเอง ความผิดพลาดที่เราเคยทำในอดีตหรือความผิดพลาดที่คนอื่นกระทำได้ส่งผลทางลบต่อชีวิตเรา
เมื่อพูดถึงความเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายหรือจิตวิญญาณ เราจะไม่จมปลักอยู่กับปัญหานั้น แต่เราจะพูดเกี่ยวกับการเยียวยา การเยียวยาด้านร่างกายเกิดขึ้นเมื่อมีการดูแลรักษาอย่างเพียงพอและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเป็นการรักษาทางการแพทย์ การเยียวยาด้านจิตใจเกิดขึ้นเมื่อคนที่อ่อนแอ ได้สัมผัสกับความรัก ความเข้าใจและความเห็นใจจากคนรอบข้างและการเยียวยาด้านจิตวิญญาณจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยได้รับความเมตตาและการให้อภัย
ใครหละ จะเป็นคนให้การรักษาทางการแพทย์ ความรัก ความเข้าใจ ความเห็นใจ เมตตาและการให้อภัย เราแต่ละคนมีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้กันและกันได้อย่างไม่ต้องสงสัย หมู่คณะและสังคมก็มีบทบาทในการดูแลสมาชิกของตนเอง แต่เราจะไม่กระทำทั้งหมดโดยอาศัยความแข็งแรงของตนเท่านั้น แต่โดยอาศัยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า ซึ่งพระองค์ปรารถนาที่จะเยียวยารักษาเราแต่ละคน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสำคัญที่สุด คือ จิตวิญญาณ
ในพระวรสาร พระเยซูเจ้าได้ดูแลเอาใจใส่คนเจ็บป่วยเป็นพิเศษ ด้วยการรักษา ให้อภัยคนเหล่านี้และส่งบรรดาศิษย์ของพระองค์ให้ออกไปเพื่อที่จะกระทำเช่นเดียวกับพระองค์ ในศาสนาคาทอลิกของเรา เราสามารถรับการเยียวยาเป็นพิเศษ จากศาสนกิจต่างๆเช่น รับศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นการรับพระกายและรับพระโลหิตของพระคริสต์เจ้า ศีลอภัยบาปและศีลเจิมคนไข้
ขณะที่เราระลึกถึงวันผู้ป่วยสากลในปี2012นี้ ขอให้เราแต่ละคนได้รำพึงไตร่ตรองถึงภาวะไม่สมดุลย์ของตนเองและแสวงหาวิธีการต่างๆเพื่อรักษาเยียวยาตนเองและดูแลซึ่งกันและกัน โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสำคัญที่สุด ใช้วิธีดีงามที่พระศาสนจักรได้อำนวยให้แก่เรา ซึ่งช่วยให้เราไว้วางใจในความรักและความเมตตาของพระเป็นเจ้า ในขณะที่เราต้องเผชิญกับความทรมานและความยากลำบากของชีวิต

Letter from the pastor


Dear friends,
In the month of February, there is a day that has deep meaning for our church community, that is World Day of the Sick, which is commemmorated on 11 February 2012, and coincides with the celebration of Our Lady of Lourdes. As we know, sickness is a reality in all of our lives. Each one of us has our own personal health issues physically, mentally and spiritually. Some of us suffer from high blood pressure or high cholesterol. Others have to deal with diabetes and arthritis. Many in our community have to live with HIV, and suffer the social stigma that is present in society due to a lack of knowledge about this issue.  And in one way or another, all of us suffer from brokenness emotionally and spiritually due to personal weakness, mistakes that we have made in the past, or due to the mistakes of others having negative effects on our lives.
When talking about illness, whether physical or spiritual, we don’t just dwell on the problem, but we also speak about healing. Physical healing takes place when there is proper and adequate medical care for the sick. Emotional healing takes place when there is love, understanding, and compassion displayed to those who are suffering. And spiritual healing takes place when there is mercy and forgiveness granted to the sick.
Who provides the medical care, the love, understanding, compasssion, mercy and forgiveness? Undoubtedly, each one of us has the ability to do these things for one another. The community and society also have the responsibility to take care of its members. But we don’t do it all based on our own strength, but on the grace of God, who desires to heal each of us, physically, emotionally, and most of all, spiritually. In the Gospels, Jesus paid particular care for the sick, by curing them, forgiving them, and sending his disciples to also do the same. In our Catholic tradition, great healing comes from such things as receiving the Sacrament of Communion in which we receive the Body and Blood of Christ, the Sacrament of Reconciliation, and the Anointing of the Sick.
As we commemorate World Day of the Sick this year, let us each reflect on our broken state, our own sickness, and seek out ways to heal ourselves and one another, using means of science and technology, but most importantly, wonderful ways available to us through the Church, which helps us to always place our faith and confidence into the loving and merciful hands of Gods in the face of great pains and difficulties.

รายนามผู้บริจาคดอกไม้ ปี 2011

มกราคม ร้านเกื้อกูล
กุมภาพันธ์ คุณธวัชชัย อังควิสิษฐพันธ์
มีนาคม ร้านส้มโอดีไซน์
เมษายน คุณมัณฑนา บุญประคม
พฤษภาคม คุณจิตรา หมั่นพลศรี
มิถุนายน คุณยายสุดตรี
กรกฎาคม คุณพรพรรณ อินทิแสน โพธิ
สิงหาคม ร้านหนองบัวเฟอร์นิเจอร์
กันยายน คุณรัตติยา ลำผาย
ตุลาคม ร้านทอง 5 ดาว
พฤศจิกายน คุณไพบูลย์ แก่งมงคล
ธันวาคม คุณสุภจิรา วิทยาภัทร

แทนคำขอบคุณ

ตลอดปี 2011 ที่ผ่านมา คุณพ่อมีความรู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจดีของพี่น้องสัตบุรุษวัดอัครเทวดามีคาแอลหนองบัวลำภู ถึงแม้ว่าวัดของเราจะเป็นวัดที่มีขนาดเล็ก จำนวนคริสตชนก็มีไม่มาก แต่การแสดงออกที่สามารถสัมผัสได้ นั่นคือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ขอบคุณ สำหรับความเสียสละและการร่วมมือในทุกกิจกรรมที่ผ่านมา ทุกๆ วันอาทิตย์ เราจะพบเห็นดอกไม้ ที่ประดับประดาบนพระแท่นอย่างสวยงาม นี่คือ สิ่งที่พี่น้องแต่ละครอบครัวได้ร่วมใจกันสนับสนุนในงานอภิบาล ทำให้เห็นถึงความรักและความศรัทธาต่อองค์พระเยซู คริสตเจ้า ในโอกาสนี้ พ่อวิงวอนขอต่อครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ได้ดลบันดาลให้ ทุกครอบครัวได้รับพระพร พระหรรษทานอย่างอุดม อวยพรในกิจการที่กระทำได้สำเร็จไปด้วยพระพรของพระ และเข้มแข็งที่จะก้าวเดินต่อไปในหนทางแห่งความเชื่อที่มีต่อองค์พระคริสต์เจ้า
บาทหลวงแอนโทนี่ เลดึ๊ก,svD

วันตรุษจีน



คุณพ่อแอนโทนี่ และเยาวชนเวียดนาม ร่วมแรงร่วมใจทำขนมสำหรับวันตรุษจีนและในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ของเชื้อสายเวียดนาม เยาวชนเวียดนาม ก็ได้ร่วมร้องเพลงอวยพร บราเดอร์ ซิสเตอร์ สัตบุรุษวัดและ เป็นการขอบคุณที่พี่น้องสัตบุรษวัดอัครเทวดามีคาแอล หนองบัวลำภู ที่ได้แสดงออกซึ่งความรักความเป็นหนึ่งเดียว ต้อนรับเยาวชนเวียดนามเสมือนญาติมิตรหรือลูก หลาน จึงทำให้เยาวชนเวียดนาม มีความอบอุ่นใจที่ได้ร่วมเป็นครอบครัวเดียวกันที่วัดแห่งนี้

เรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน


คุณพ่อแอนโทนี่ เจ้าอาวาสวัด เป็นวิทยากรรับเชิญในวิทยาลัยชุมชน หนองบัวลำภู เพื่อสอนภาษาอังกฤษพื้นฐานในการสื่อสาร คอร์ส 25 ชั่วโมง ที่วิทยาลัยชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู
มีทั้งข้าราชการและบุคคลทั่วไป ให้ความสนใจในการใช้ภาษาอังกฤษ มีผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ จำนวน 35 คน เริ่มสอนตั้งแต่วันที่ 10– 31 มกราคม 2012 และเปิดคอร์สที่ 2 เดือนมีนาคม ท่านที่สนใจ สามารถสอบถามได้ที่วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู