วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พิธีกรรม


ในช่วงเวลาแห่งการเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ถ้าหากเรามีโอกาสได้ไปตามวัดต่างๆ เราอาจจะพบว่าที่หน้าพระแท่น จะมีพวงหรีดประดับประดาด้วยใบไม้สีเขียวและเทียน 4 เล่ม จะมองเห็นเทียนที่มีสีม่วงและสีชมพู อาจจะมีข้อสงสัยว่า พวงหรีดที่เห็นอยู่นี้ มันมีความหมายว่าอย่างไร ในขณะที่คาทอลิกบางคนอาจจะไม่เข้าใจเช่นเดียวกับพุทธศาสนิกชน แต่สารวัดของเราฉบับนี้ จะมาตอบคำถามเกี่ยวกับประเพณีการทำพวงหรีด ก่อนถึงวันฉลองการบังเกิดของพระกุมาร

บทความ โดยคุณพ่อ ฟรังซิส ไวย์เซอร์ SJ ., The Liturgical Press, Minnesota, 1964, หน้า 58-60

เมื่อเข้าสู่เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า หรือช่วง 4 สัปดาห์ก่อนฉลองพระคริสต์สมภพ มีหลายวัดที่นิยมหาพวงหรีด สีเขียว พร้อมเทียน 4 ต้น มาประดับในบ้าน ในโรงเรียน หรือในวัด  
สมัยก่อนเราไม่มีธรรมเนียมเช่นนี้ หรีดเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าได้กำเนิดไม่กี่ร้อยปีนี่เอง ในประเทศเยอรมันภาคตะวัน ออก โดยธรรมเนียมชาวบ้าน ตอนปลายพฤศจิกายน และต้นธันวาคม มีการเผาไฟ ชาวคริสต์ในสมัยกลางคงรักษาสัญลักษณ์สืบทอดกันมาเป็นประเพณี
คนสมัยศตวรรษที่ 16 มีคนเกิดความคิดว่าเอาไฟมาใช้เป็นสัญลักษณ์ ในศาสนาถึงการเตรียมฉลองพระคริสต์สมภพ (คริสต์ มาส) ในบ้านของชาวคริสต์ คนทั่วไปก็ชอบความคิดนี้ คือ พี่น้องคริสเตียน และคาทอลิก ในส่วนต่างๆของประเทศเยอรมัน ประดับไฟ หรีดเตรียมฉลองพระคริสตสมภพ มาจาก หรีดของต้นสน (Fir laurel)ไม้ที่เขียวตลอดปี ทำเป็นขนาดต่างๆ โดยเอามาใช้แขวนเพดาน ตามเสา ตามหน้าต่าง หรือวางโต๊ะ หรือแท่นพระที่สมาชิกในครอบครัวใช้ภาวนาด้วยกัน (ธรรมเนียมชาวยุโรป จะภาวนาด้ วยกัน เช่นก่อนทานอาหาร ก่อนนอน) นอกจากหรีดของต้นสนแล้ว ยังมีเทียน 4 ต้น ตั้งตรง ห่างเท่าๆกัน เทียนทั้ง 4 เป็นสัญลักษณ์หมายถึง 4 สัปดาห์ก่อนฉลองคริสต์มาส แต่ละวันตอนเย็น ครอบครัวจะอธิษฐานพร้อมกันสั้นๆ ในวันอาทิตย์ จะจุดเทียนเพิ่มขึ้นที่ละต้น จนครบ 4 ต้น ในสัปดาห์ที่ 4 แสงเทียนจะส่องสว่างไสว หมายถึงเรายินดีฉลองวันสมภพของพระเยซูเจ้า ก่อนภาวนาเขาจะดับไฟในห้องนั้น แล้วจุดเทียนให้ส่องสว่ างขับไล่ความมืดออกไป ปรกติเราใช้เทียนสีม่วง ยกเว้นต้นที่ สาม ใช้สีกุหลาบ หรือ สีม่วง ก็ได้ ตามอาภรณ์ของพระสงฆ์ในพิธีกรรมที่วัด ที่ใช้สีกุหลาบเพราะแสดงว่าใกล้คริสต์มาสแล้ว
หรีดเตรียมฉลองปีคริสตสมภพไม่มีความสัมพันธ์ใดกับพิธีกรรมในพระศาสนจักร ไม่ใช่สิ่งคล้ายศีล (Sacramental) ไม่เคยมีการประกาศเป็นทางการในเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี การภาวนาที่เหมาะสมกับโอกาสย่อมช่วยเราให้ได้รับพระพร
สัญลักษณ์การใช้หรีดเตรียมฉลองคริสต์มาสนี้ เตือนใจเราให้คิดถึงผู้ซื่อสัตย์ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม “เพื่อส่องสว่างแก่ ทุกคนที่อยู่ในความมืด และในเงามืดแห่งความตาย” (อสย.9:1,42:7 ลก.1:79) ประกาศกประกาศถึงพระผู้ไถ่ เมื่อใจของคนศรัทธาจะลุ กร้อนดุจเปลวไฟปรารถนาพระผู้ไถ่ (พระเมสสิยาห์) หรีดนี้จึงเป็นเครื่องหมายถึงเวลาที่พระคริสตเจ้าเสด็จมาบังเกิด (หรีดเน้นสัญลักษณ์ในสมัยโบราณ หมายถึงชัยชนะ และเกียรติยศ)
หลังจากกภาวนาขอพระพรเพื่อเตรียมฉลองพระคริสต์สมภพสมาชิกในบ้านจะร้องเพลงเตรียมรับพระคริสตเจ้า หรือเพลงเทิดเกียรติพระนางมารีย์ บางแห่งในยุโรปเป็นธรรมเนียมให้คนที่ชื่อ ยอห์น (ผู้ชาย) หรือโจแอน (ผู้หญิง) เป็นผู้จุดเทียน  เพราะยอห์น เป็ นผู้เขียนพระวรสารที่บอกว่า พระคริสตเจ้าทรงเป็นแสงสว่างส่องในความมืด (บทที่ 1:5) และยอห์น บัปติสต์ เป็นคนแรกที่เห็นแสงสว่างนั้น เวลาประกอบพิธีล้างที่แม่น้ำจอร์แดน
เด็กๆมักจดจำประสบการณ์ วันฉลองในวัยของเขาเสมอ เป็นต้นในช่วงคริสต์มาส นอกจากนั้น การภาวนาพร้อมกันในครอบ ครัวก็เป็นการปฏิบัติตามที่พระเยซูเจ้ากล่าวว่า “ที่ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั้นท่ามกลางพวกเขา” (มธ.18:20)
คุณมีพระคริสตเจ้าในบ้าน เมื่อคุณเป็นเด็ก  นี่เป็นความจริงที่น่าสนใจ หากลองตามประเพณีเรียบๆนี้ให้มีความหมาย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความที่เรานับมาฝากให้ทุกท่านได้อ่านในเรื่องของพิธีกรรม คงจะเพิ่มพูนความรู้ที่มีอยู่แล้ว ให้แน่นเอียดไปด้วย ความหมายที่แท้จริงของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้านะค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น