วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เข้าเงียบ หรือ เข้าหงี๊บ(สารวัดประจำเดือนพฤศจิกายน)

วันที่ 20-21 ตุลาคม 2010 วัดคาทอลิกอัครเทวดามีคาแอล โดย คุณพ่อแอนโทนี่ เลดึ๊ก ซึ่งท่านได้ตระหนักและเป็นห่วงถึงเรื่องชีวิตฝ่ายจิตของสัตบุ-รุษเป็นที่สุด จึงได้จัดโปรแกรมการเข้าเงียบครั้งแรกสำหรับน้องๆ เยาวชนที่สนใจในการเข้าร่วม

การเข้าเงียบคืออะไร

1.เวลาสงบฯ เพื่อการภาวนา 2.เวลาแห่งการกลับใจ

3.โอกาสที่จะให้พระจิตเจ้าเปลี่ยนแปลงชีวิต ซึ่งในการเข้าเงียบที่ทางวัดของเราได้จัดสำหรับเยาวชนนั้นมีลักษณะของการเข้าเงียบ คือ การมีประสบการณ์ส่วนตัวกับพระเจ้า ผู้เข้าเงียบจะพบผู้นำฝ่ายจิตเพื่อแบ่งปันประสบการณ์จากการภาวนาและเพื่อเข้าใจการดลใจของพระเจ้าในแต่ละวัน

การเข้าเงียบจะมีข้อความจากพระคัมภีร์เป็นแนวทางในการรำพึงภาวนา “ถ้าวันนี้ท่านได้ยินเสียงของพระเจ้า ก็อย่าทำให้แข็งเลย”

ผู้เข้าเงียบต้องจัดตารางเวลาและช่วงภาวนาของตนเพื่อสามารถพัฒนาการตอบสนองคำเชื้อเชิญของพระเจ้าได้ตามจังหวะชีวิตของตนเอง ผู้เข้าเงียบต้องรักษาความเงียบอย่างเคร่ง ครัดตลอดเวลาเพื่อจะได้สำนึกการประทับอยู่ของพระเจ้า ได้ง่ายขึ้น การเข้าเงียบส่วนตัวจะมีได้ตั้งแต่ 1 วัน – 1 เดือนหรือสุดแล้วแต่ความปรารถนาของแต่ละบุคคล

การบอกเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับพระนั้นถือว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งและในสารวัดของเรา คุณเปาโล ปฐวี แวววับ(พี่ป๊อบ)ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์กับพระ เพราะการได้ยินเสียงของพระเจ้านั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป และที่สำคัญพระเจ้าตรัสกับแต่ละคนไม่เหมือนกัน

วันแรกของการเยือนจังหวัดหนองบัวลำภู ผมรู้สึกประทับใจมากเนื่องจากบรรยากาศสดชื่น มีธรรมชาติดำรงอยู่ตามแบบที่พระเจ้าได้ทรงสร้างไว้ การมาเยือนจังหวัดหนองบัวลำภู ถือเป็นการมาครั้งแรกของผม สืบเนื่องจากผมได้รู้จักคุณพ่อแอนโทนี่ เลดึ๊ก ซึ่งเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสของวัดคาทอลิกอัครเทวดามีคาแอล จังหวัดหนอง- บัวลำภู โดยผ่านช่องทาง เฟซบุ๊ค ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารของสังคมในยุคปัจจุบัน ซึ่งคุณพ่อแอนโทนี่เขียนข้อความแบ่งปันไว้ใน เฟซบุ๊ค ของวัดอัครเทวดามีคาแอล “เชิญชวนเยาวชนอายุ ตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไปร่วมกิจกรรมเข้าเงียบ ในหัวข้อที่ว่า ถ้าวันนี้ท่านได้ยินเสียงของพระเจ้าจงอย่าทำใจแข็งเลย” ซึ่งปกติแล้ว ผมจะพบแต่พระสงฆ์ ที่เข้าเงียบ แต่ยังไม่เคยพบว่า มีการจัดการเข้าเงียบของเยาวชน ผมจึงมีความสนใจ และตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรมกับคุณพ่อแอนโทนี่

กิจกรรมแรกของการเข้าเงียบในหัวข้อที่ว่า “ถ้าวันนี้ท่านได้ ยินเสียงของพระเจ้า จงอย่าทำใจแข็งเลย” คือการแนะนำตัวทำความรู้จักกับเยาวชนอื่นๆ ทำให้ผมได้รู้จักพี่ๆเพื่อนๆแลน้องๆ ที่มีความแตก-ต่างกันในหลายๆ เรื่องแต่สิ่งที่พวกเรามีเหมือนกันนั่นคือศรัทธา และความเชื่อที่พวกเรามีต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมนี้ ก็ถึงเวลาที่พวกเรารอคอยคือการรับประทานอาหารร่วมกัน คุณพ่อได้แนะนำให้พวกเราแบ่งหน้าที่กัน บ้างก็เป็นพ่อครัว บ้างก็แบ่งปันเรื่องพระวาจา บ้างก็แอบไปเงียบต่ออย่างเอาจริ๊งเอาจัง บ้างก็รอล้างจาน ส่วนตัวผมเองคุณพ่อได้มอบหมายให้เป็นหัวหน้าพ่อครัว(ฟังแล้วก็แอบอมยิ้ม เพราะไม่รู้ว่าอาหารที่ทำจะอร่อยหรือเปล่า 55+)

หลังจากนั้นคุณพ่อได้เทศน์แบ่งปันเกี่ยวกับ “การสดับรับฟังเสียงของพระเจ้า” ทุกคนก็นิ่งเงียบและตั้งใจฟังคุณพ่อแอนโทนี่เทศน์สอนอย่างตั้งใจ คุณพ่อได้ให้พวกเรามีเวลาส่วนตัว 1 ชั่วโมงใน การรำพึงไตร่ตรองเพื่อค้น หาเสียงของพระเจ้า เมื่อพวกเรารับคำสั่ง แล้ว ต่างคนก็ต่างแยกกันไปหาที่สงบและเป็นส่วนตัว บ้างก็นั่งใต้ต้นไม้ บ้างก็เดิน บ้างก็ยืนสงบนิ่ง เพื่อนคนไหนที่นิ่งไม่ได้ก็จะแอบแกล้งเพื่อนคนอื่นอย่างสนุกสนาน แต่สุดท้ายทุกคนก็สงบนิ่งอยู่ในความเงียบ...เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งหมดเวลา ทุกคนก็ตื่นจากภวังค์ของความเงียบ และเข้ามานั่งรวมกัน ณ ห้องทำกิจกรรม คุณพ่อแอนโทนี่ ได้ให้พวกเราแบ่งปันเสียงที่พวกเราได้ยิน บางคนก็เล่าถึงเสียงพระเจ้าที่ทรงตรัสผ่านธรรมชาติที่พระองค์ทรงสร้าง บ้างก็รำพึงถึงปัญหาชีวิตที่ตนกำลังเผชิญจนทำให้บางคนถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่ เพื่อนชาวเวียดนามคนหนึ่งเล่าว่า “ผมได้เข้าเงียบจริงๆ คือการนอนหลับพักพิงในพระเจ้า” เพื่อนๆ คนอื่นๆ พอๆได้ยินสิ่งที่กล่าวนั้นก็หัวเราะสนุก-สนานกัน จนกลายเป็นเรื่องตลก(ตัวผมเองก็แอบหัวเราะตามไปด้วย)

เมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหารว่าง คุณพ่อให้พวกเรานั่งสมาธิเพื่อสร้างมโนภาพให้เสมือนกับว่าพวกเรากำลังสนทนากับ พระเยซูเจ้า หลังจากนั้นพวกเราก็มาแบ่งปันสิ่งที่พวกเราได้สนทนากับพระเยซูเจ้า บางคนเล่าว่าคุยกับพระเยซูเจ้าบนสวรรค์ บางคนก็พบพระเยซูเจ้าบนภูเขา บ้างก็พบในถ้ำบ้าง แต่สำหรับตัวผมเองนั้นได้คุยกับพระองค์ในทุ่งหญ้าที่มีฝูงแกะมากมาย แต่กิจกรรมนี้ก็มีคนเล่ว่า ได้คุยกับพระเยซูเจ้าแค่ครู่เดียวก็เผลอหลับไป ซึ่งเรียกเสียงหัวเราะจากเพื่อนคนอื่นๆ ได้มากทีเดียว ฮา..ฮา..ในช่วงค่ำเป็นกิจกรรม “จดหมายจากใจ” โดยครูแหม่มได้ให้พวกเราเขียนสิ่งที่ท้ายท้าในชีวิต และให้เพื่อนๆ คนอื่นมาเขียนตอบสิ่งท้าทายต่างๆ ที่เรากำลังเผชิญเพื่อให้สิ่งที่เพื่อนๆ ตอบนั้นเป็นพระวาจาของพระเจ้าที่ช่วยให้เราผ่านสิ่งที่ท้าทายในชีวิตของเราไปได้ กิจกรรมสุดท้ายของวันคือ การคืนดีกับพระเจ้าในกิจกรรมนี้พวกเราได้ขอโทษกับพระเจ้าในสิ่งที่ผิดบาป ที่พวกเราทำไปด้วยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นการพูด การกระทำ หรือทางจิตใจ ก่อนที่พวกเราจะแยกย้ายกันไปพักผ่อนในพระเจ้า คุณพ่อก็ถามความสมัครใจว่าจะ

มีใครสวดสายประคำบ้างแต่ทุกคนก็ลงความเห็นว่าจะ

สวดสายประคำ พวกเราก็เลยสวดสายประคำกันทุกคน

วันที่สองของการเข้าเงียบ พวกเราตื่นนอนด้วยบทภาวนา “จงสรรเสริญพระเยซูคริสตเจ้าเป็นนิจนิรันดร อาแมน...” และทำวัตร

เช้าโดยครูแหม่ม(ส่วนผมไม่ได้ไปร่วมทำวัตรเช้า เพราะต้องเตรียมอาหารเช้าสำหรับทุกคน) เสร็จจากรับอาหารเช้า คุณพ่อแอนโทนี่เทศน์สอนเรื่อง “การปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า” หลังจากนั้นก็ให้แบ่งปันความรู้สึกของการมาเข้าเงียบในครั้งนี้

ก่อนจะจบกิจกรรม เราร่วมพิธีมิสซาพร้อมกัน หลังจากบทพระวรสาร คุณพ่อได้จัดให้มีพิธีล้างเท้า โดยเริ่มต้นจากคุณพ่อล้างเท้าให้เพื่อนคนหนึ่งที่มาเข้าร่วมกิจกรรม และก็สลับไปเรื่อยๆ จนครบ บางคนก็มีจูบเท้าบางคนก็น้ำตาซึม ตัวผมเองก็กลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่จริงๆ กิจกรรมนี้คุณพ่อพยายามสอนให้พวกเราเป็นผู้ที่ถ่อมตนก่อนที่จะขอความเมตตา จากคนอื่น ดังพระวาจาที่กล่าวได้ว่า “จงมีใจอ่อนโยน และถ่อมตน”

ความรู้สึกและความประทับใจของการเข้าเงียบในครั้งนี้ โดยปกติแล้วผมได้มีโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมลักษณะแบบนี้อยู่

ประเทศไทยเรียนรู้ที่จะสวดภาวนาเป็นภาษาไทย

สุดท้ายนี้ผมขอภาวนาเป็นพิเศษให้กับคุณพ่อแอนโทนี่ บราเดอร์เบริ์น ซิสเตอร์บ้านเด็กคุณแม่เทเรซา ครูแห่มม โทน พี่ดิเรก และเยาวชนวัดคาทอลิกอัครเทวดามีคาแอล จังหวัดหนองบัวลำภู และเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมเข้าเงียบทุกท่าน ขอให้พวกเขามีพละกำลังในการประกาศความรักที่พระเจ้ามีต่อเขาให้ทุกคนได้รู้

เปาโล ปฐวี แวววับ(ป๊อป)

บ้าง แต่ไม่เคยรู้สึกเลยว่า เราจะสนิทใจเหมือนเราอยู่กับครอบครัว

ของเราเอง เหมือนกับเราอยู่บ้านของเราเอง เท่ากับกิจกรรมในครั้งนี้ เพราะเพื่อนๆ ทุกคนเป็นกันเอง โดยเฉพาะเพื่อนๆ ชาวเวียดนาม แม้ว่าพวกเขาจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของวัฒนรรม แต่เพื่อนๆชาวเวียดนามก็มีความใคร่กระหายหาที่จะเรียนรู้ในวัฒนธรรมของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น